จำแนกประเภทและหน้าที่วัตถุเจือปนอาหาร มาตรฐานทั่วไปสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร วัตถุเจือปนอาหารในสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง เรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจเกี่ยวกับวัตถุเจือปนอาหารในสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง
Classification and functions of food additives, general standard for food additives, food additives in fish and fishery products, current issues in food additives in fish and fishery products.
- อาจารย์: เยาวภา ไหวพริบ (Yoawapha WAIPRIB)
คำอธิบายรายวิชา คุณภาพของผลิตภัณฑ์ประมงและวิธีการวัดคุณภาพ การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ประมง การใช้วิธีทางสถิติในการควบคุมคุณภาพ
จุดประสงค์ของวิชา เพื่อให้นิสิต
1. สามารถอธิบายถึงความหมายของคุณภาพอาหาร ดัชนีที่บอกถึงคุณภาพและวิธีการวัด และหลักการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ประมง
2. กำหนดวิธีการในการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ประมงแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม
วิชาโภชนศาสตร์ผลิตภัณฑ์ประมง เป็นการสอนเกี่ยวกับสารอาหาร การย่อยและดูดซึมสารอาหาร องค์ประกอบทางเคมี คุณค่าทางโภชนาการ ผลของการแปรรูปต่อคุณค่าทางโภชนาการ เภสัชโภชนภัณฑ์และอาหารทะเลเพื่อสุขภาพ การแพ้อาหารทะเล ชีวพิษ ฉลากโภชนาการ
บทบาทและความสำคัญของจุลชีพในกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำ คุณและโทษของจุลชีพที่มีต่อผลิตภัณฑ์ประมง การปรับปรุงสุขลักษณะของผลิตภัณฑ์ประมง โคลิฟอร์มและแบคทีเรียบางชนิดซึ่งใช้ในการกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ประมง เทคโนโลยีทางจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ประมง มีการศึกษานอกสถานที่
Flavor Chemistry and Product Development for Flavor research
- อาจารย์: จุฑา มุกดาสนิท (Juta MOOKDASANIT)
ความสำคัญของอุตสาหกรรมประมง โครงสร้างอุตสาหกรรมประมง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำและพืชน้ำ การทำการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การดูแลและขนส่งผลผลิตสัตว์น้ำหลังการจับ การเก็บรักษาและแปรรูปสัตว์น้ำ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมง
การพัฒนาอุตสาหกรรมประมงของโลกและประเทศไทย วิธีการจับและเครื่องมือที่มีผลต่อคุณภาพสัตว์น้ำ การเปลี่ยนแปลงภายหลังการตายของสัตว์น้ำ การดูแลและการขนส่งสัตว์น้ำ การผลิตและการใช้ประโยชน์พืชน้ำและสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ การตรวจประเมินคุณภาพสัตว์น้ำ การจัดการเศษเหลือและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากวัตถุดิบสัตว์น้ำ
วัตถุดิบและหลักการผลิตปลาบดแช่เยือกแข็ง กระบวนการแปรรูปผลิต ซูริมิจากปลา การใช้ประโยชน์จากซูริมิและผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบทางเคมี ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพและการเสื่อมสภาพของซูริมิ การพัฒนาการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีกระบวนการแปรรูปแบบใหม่เพื่อปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัย
จุลชีววิทยา และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภํณฑ์ หรือ ผลผลิตจากทรัพยากรประมง